ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของอาสาสมัครป่อเต็กตึ๊งสำโรงใต้

1ศตวรรษความดี100ปีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

1 ศตวรรษกับพระมหากรุณาธิคุณ
      
     ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานด้านสาธารณกุศลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่พวกเราในแวดวงมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งกถึงเรื่องเหล่านี้เมื่อใดเป็นต้องเกิดความปีติด้วยเป็นเรื่องอันน่ายินดี น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
      ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานด้านสาธารณกุศลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสิ่งที่พวกเราในแวดวงมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งกถึงเรื่องเหล่านี้เมื่อใดเป็นต้องเกิดความปีติด้วยเป็นเรื่องอันน่ายินดีน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้รับพระมหากรุณาธิคุณได้รับความเมตตาจากพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงค์ชั้นสูงในโอกาสต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าจดจำและหัวใจพองโตด้วยความปีติ    ดังนี้ 1.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6    โปรดเกล้าพระราชทานเงินมาเพื่อให้  คณะเก็บศพไต้ฮงก
 
      “คณะเก็บศพไต้ฮงกง  ช่วยทำให้บ้านเมืองสะอาด” เป็นคำกราบทูลของพระยายมราชที่ทำหน้าที่ถวายความเห็นประกอบคำถวายฎีกาของ “คณะเก็บศพไต้ฮงกง” ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระองค์ได้พระราชทานเงินมาเพื่อให้ คณะเก็บศพไต้ฮงกงปีละ 2,000 บาท เพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อมาได้จนทุกวันนี้ นับเป็นพระมหากรุณธิคุณอันล้นพ้น    และคณะเก็บศพได้พัฒนาและเจริญมาตามลำดับได้ปรับเปลี่ยนการบริหารงานตามความเจริญของบ้านเมืองในชื่อ “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ที่มีศักยภาพในการให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนทุกหัวละแหงทุกเหตุการณ์ให้สมกับความไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระราชวงศ์องค์อื่น ๆ เสมอมา
     2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เสด็จประทับคู่กัน ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและโรงพยาบาลหัวเฉียว
     เดือนธันวาคม พ.ศ.2488 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงประมาณ 3 เดือน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จนิวัติประเทศไทยและเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จประพาสชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนแถบสำเพ็ง เยาวราช เจริญกรุงและบริเวณใกล้เคียง องค์กรชาวจีนที่อยู่ในหมายกำหนดการเสด็จประกอบด้วย สมาคมพาณิชย์จีน สมาคมแต้จิ๋ว,ไหหลำ,ฮกเกี้ยน,กวางตุ้ง,แคะ,เจียงเจี๊ยะ,โรงพยาบาลเทียนฟ้า,มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและโรงพยาบาลหัวเฉียวมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นพระอนุชาธิราชโดยเสด็จในการเสด็จประพาสครั้งนั้นด้วย
  
 
     มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและโรงพยาบาลหัวเฉียว มีนายจิตติน  ตันธุวนิตย์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เป็นผู้ถวายการต้อนรับ
เวลา 14.20 น.  เสด็จประทับที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และ
เวลา 14.40 น.  เสด็จประทับที่โรงพยาบาลหัวเฉียว   ซึ่งขณะนั้นเพิ่งย้ายมาอยู่ที่ถนนกรุงเกษม

     เป็นสถานที่เช่าไว้     ยังไม่ได้พัฒนา    ซึ่งต่อมาหลังจากแสด็จแล้ว  3  วันมูลนิธิจึงซื้อสถานที่นั้นซึ่งมีเนื้อที่  5ไร่  1 งาน 59   ตารางวา  ไว้เป็นกรรมสิทธิ และ พัฒนาทั้งด้านกายภาพ  และประสิทธิภาพด้านการรักษาพยาบาล     บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลหัวเฉียวในขณะนั้นอยู่ด้านหลังที่ตั้ง  “คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน  แพทย์แผนไทย”   ในปัจจุบัน
     3.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  เสด็จเปิดโรงพยาบาลหัวเฉียว  22  ชั้น

     โรงพยาบาลหัวเฉียวก่อตั้งในปี พ.ศ.2481 แรกเริ่มเป็นเพียงสถานผดุงครรภ์มีเตียงคนไข้สิบกว่าเตียงตั้งอยู่ด้านหลังของศาลเจ้าไต้ฮงกง ต่อมาได้ย้ายไปถนนพลับพลาไชยเยื้องๆวัดเทพศิรินทร์และย้ายอีกครั้งไปที่ถนนกรุงเกษมเปลี่ยนสถานะเป็นโรงพยาบาลผดุงครรภ์และได้ขยายการรักษาพยาบาลไปสาขาอื่นด้วยในปี พ.ศ. 2509 มีเตียงผู้ป่วย 250 เตียงและได้ย้ายที่ตั้งโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง มาตั้งที่ 466 ถนนบำรุงเมือง ครั้งนี้ได้สร้างเป็นโรงพยาบาลสูง 22 ชั้นรักษาทุกสาขาโรค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลตามคำกราบบังคมทูลในวันที่ 8 พฤษภาคม   2522 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี  ในวันอันเป็นมหามงคลนั้นพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ทรงรับสั่งว่า  ”……..นี่เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกนะที่สามารถนำคนไข้มาทางเครื่อวบินได้….” ปัจจุบันโรงพยาบาลหัวเฉียวได้รับรองมาตรฐาน  HA. จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
  
 
     4. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานชื่อ “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”
     ตามที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ก่อตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์ ชั้น 2 ขึ้นในโรงพยาบาลหัวเฉียวตั้งแต่ปี พ.ศ.2484  นั้นได้มีการพัฒนามาโดยลำดับต่อมาในปี  2497   ได้ยกวิทยฐานะเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัยชั้น 1.   และ  เป็นวิทยาลัยหัวเฉียว  ในปี พ.. 2524
     ในปี พ.ศ. 2533ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งครบรอบ 80 ปีคณะกรรมการมีดำริว่าเพื่อเป็นการเฉลิมเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ที่ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่าพศกนิกรทุกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ให้มีความร่มเย็นสมานฉันท์และด้วยพระเมตตาบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมทำให้กิจการของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดมาเป็นระยะเวลาถึง 80 ปี……..จึงมีมติดำเนินการเพื่อยกวิทยฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัย”   และขอพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อเป็นสิริแก่มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นและแก่ผู้ร่วมบริจาคก่อตั้งทุกคน
   

     วันที่ 11 พฤษภาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยตามที่มูลนิธิกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”และมีพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรับพระราชทานชื่อเมื่อ  18  พฤษภาคม  2535
     5. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปณา  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
     มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเนื้อที่ประมาณ140 ไร่ ที่  18/18 ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 18 ตำบลบางโฉลง  อำเภอบางพลี สมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ. 2534 โดยกำหนดรับนักศึกษารุ่นแรกใน พ.ศ. 2535ซึ่งสามารถเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีถึง 8 หลักสูตร มีนักศึกษารุ่นแรก 447 คน ในปัจจุบันนี้มีนักศึกษาหมื่นคนเศษวันที่ 24  มีนาคม  2537  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปณามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
       

                                                                                
     ภายหลังจากทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายชื่อมหาวิทยาลัยฯ - พระราชทานทุนการศึกษา - พระราชทานเข็มที่ระลึกแก่ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ  ทอดพระเนตรแบบแปลนแผนผังมหาวิทยาลัยฯ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอาคารต่างๆ ก่อนเสด็จกลับ   ได้ทรงปลูกต้นโพธิอันเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวมหาวิทยาลัย  และเป็นสัญลักษณ์ของร่มโพธิสมภารของชนทุกเชื้อชาติที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
     6.  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ทรงพระอักษรภาษาจีนด้วยภู่กันจีนประทานให้ “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
     ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงปลูกต้นโพธิเพื่อเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ทรงพระอักษรภาษาจีน  4  ตัว ด้วยภู่กันจีน  崇聖報德  อ่านว่า  ฉ่งเสี่ยป้อเต็ก  ในสำเนียงแต้จิ๋ว  และ ฉงเซิ่งเป้าเต๋อ  ในสำเนียงจีนกลาง  มีความ หมายว่า   “เฉลิมพระเกียรติด้วยการสนองพระคุณ” ประทานให้   “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”    เมื่อ 15  กุมภาพันธ์   2547 ซึ่งมหาวิทยลัยฯ ได้สลักลงที่แผ่นศิลาที่ฐานประติมากรรมพระบรมโพธิสภารนับเป็นพระมหากรุณาอันล้นพ้น       7. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเปิดคลินิกหัวเฉียวไทย- จีนแพทย์แผนไทย
     มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเล็งเห็นว่าศาสตร์ความรู้ด้านการแพทย์แผนของจีนซึ่งสั่งสมมาเป็นเวลาหลายพันปีจนเป็นแพทย์แผนทางเลือกที่แพทย์แผนปัจจุบันนำมาศึกษาและถือเป็นการแพทย์แขนงหนึ่งที่ใช้ในการรักษาคนไข้ได้และได้ตั้งทีมแพทย์ทำการศึกษาศาสตร์การแพทย์แผนจีนอย่างขมักเขม้นประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขของไทย โดยกรมการแพทย์ได้จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือไทย-จีน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้จัดตั้ง สถานพยาบาลหัวเฉียวแผนโบราณมาตั้งแต่ พ.ศ. 2538  เป็นแผนกหนึ่งในโรงพยาบาลหัวเฉียวซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ที่ประสงค์จะได้รับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนตามลำดับและในเดือน มิถุนายน 2543 กระทรวงสาธารณสุขได้รับรองให้ศาสตร์การแพทย์แผนจีน เป็นส่วนหนึ่งของแพทย์ทางเลือกจึงทำให้คนไข้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับและได้ย้ายมาที่อาคารโรงพยาบาลหัวเฉียวเดิมและต่อมาพ.ศ.2547  ได้ก่อสร้างอาคารคลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย สูง  8  ชั้น   เป็นอาคารที่สามารถรองรับคนไข้ได้จำนวนมากและมีพื้นที่อบรมบุคลากรทางแพทย์ของศาสตร์แผนจีนและภายในตึกคลินิก มีสถาบันการแพทย์ไทย-จีน  ของกระทรวงสาธารณสุขในชื่อ  “ศูนย์ความร่วมมือการแพทย์แผนไทย-จีน”อยู่ด้วยอาคารคลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย  มีเนื้อที่ใช้งานทั้งหมด  7,500   ตารางเมตร
  

                                                                                    
      วันศุกร์ที่ 7 มกราคม  2548 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารคลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย  ในเวลา  10.00  น.
     8.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  เสด็จ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
      วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546  ชิวหยีของวันตรุษจีน 19.30  น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จย่านชุมชนชาวจีนเปิดงานเทศกาลตรุษจีนเยาวราชและได้เสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อบูชาหลวงปู่ไต้ฮงกงในโอกาสเดียวกันได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งโดยมี ดร.อุเทน   เตชะไพบูลย์ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ดร.สมาน   โอภาสวงศ์ ประธานบริหาร  และคณะกรรมการถวายการต้อนรับนำเสด็จทอดพระเนตรและถวายคำอธิบายและได้ถวายเงินเพื่อทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย จำนวน   5  ล้านบาท
     มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งถือเอาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546   วาระอันเป็นมหามงคลนี้เป็นวันเปิด  “พิพิธภัณฑ์มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง”  อย่างเป็นทางการ

     9. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และ กองทุน ก.ว. และ กองทุนสมเด็จย่า ให้มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งนำไปช่วยพศกนิกรของพระองค์ที่ประสบภัยธรรมชาติ
     สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมัยพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ได้พระราชทานราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรัพย์จากกองทุนการกุษลสมเด็จย่าและทุนการกุศลจาก กองทุน ก.ว. รวม 12 ครั้ง จำนวนเงิน11,500,000.- บาท ผ่านมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สำ หรับช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ตกทุกข์ได้ยากจากภัยต่าง ๆ ทั่วประเทศอยู่เสมอแม้เมื่อพระองค์จากไปแล้ว ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ธิดาของท่านยังคงบริจาคเพื่อบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ตกทุกข์ได้ยากจากภัยภิบัติที่เกิดขึ้น อีก 3 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 14,500,000.- บาท นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น.
     10. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเปิดศูนย์ไตเทียมที่โรงพยาบาลหัวเฉียว
     6 ธันวาคม ปี พ.ศ.2543 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในฐานะองค์ประธานมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ได้เสด็จทรงเปิดศูนย์โรคไตในโรงพยาบาลหัวเฉียวในวาระอันเป็นมงคลที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งก่อตั้งมาครบ 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ถวายเงิน 2,000,000.- บาท เพื่อมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทยละ ปี พ.ศ.2553 อันเป็นวาระที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งครบ 100 ปี และโรงพยาบาลหัวเฉียวครบ 76 ปี ศูนย์ไตเทียมของโรงพยาบาลหัวเฉียวได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยสามารถให้การบริการฟอกไตได้พร้อมกันหลายสิบเตียง มีเครื่องไตเทียม…………….ชุด นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่เครื่องไตเทียมมากที่สุดในประเทศ นับเป็นบารมีที่สมเด็จพระพี่นาง เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฯ เสริมส่งโดยแท้.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น