ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของอาสาสมัครป่อเต็กตึ๊งสำโรงใต้

ศาลเจ้าไต้ฮงกง

ประวัติหลวงปู่ไต้ฮง 

ชีวประวัติ ของหลวงปู่ไต้ฮงหรือไต้ฮงกง 
     ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุ อำเภอเตี้ยเอี้ย เมืองแต้จิ๊วมณฑลกวางตุ้ง ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ท่านเกิดที่เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง เมื่อพ.ศ.1582สมัย ราชวงศ์ซ่ง จากตระกูลลิ้ม เดิมชื่อ หลิงเอ้อ ครอบครัวของท่านสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินได้รับการศึกษาทั้งทาง วิชาการและพุทธศาสนา สอบได้เป็นบัณฑิตระดับจิ้นซือ (บัณฑิต ชั้นเอก) เข้ารับราชการเป็นนายอำเภอ เมื่ออายุ 54 ปีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอเชียวเฮง มณฑลจิกกัง  และมาบวชเป็นพระในพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมเผย แพร่ธรรมะเป็นเวลายาวนานในมณฑลฮกเอี้ยนมีฉายานามว่า ไต้ฮงโจวซือ หรือ ไต้ฮงกง แปลเป็นไทยว่า หลวงปู่ไต้ฮง จนกระทั่งทุกวันนี้
      เมื่อท่านเจริญอายุ ได้ 81 ปี ได้ธุดงค์มาถึงอำเภอเตี้ยเอี้ย เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง  เข้าจำพรรษาที่อาราม เล่งจั๊วโก๋วยี่ ในปักซัว และต่อมาจึงย้ายไปที่วัดเมี่ยนอันกวน   ในตำบลฮั่วเพ่ง ซึ่งมักจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่เป็นเนืองนิจ ทั้งเวลามีพายุ  น้ำท่วม ไฟไหม้ โรคระบาด ภัยแล้ง ซึ่งจะมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ท่านก็เก็บศพ  ไป ฝังให้โดยไม่รังเกียจ ตั้งศาลารักษาโรคที่ริมโขดหินใหญ่ จัดหาอาหารสิ่งของให้ผู้ยากไร้ที่เดือดร้อน ชักชวนชาวบ้านและสานุศิษย์ให้ประกอบกิจกรรมการกุศล  กัน อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ จริยวัตร แห่งเมตตาธรรมของท่านนั้น ช่วยเหลือ  ทั้งผู้มีชีวิตที่ยาก ไร้และผู้ตายที่ไร้ญาติ
      ท่าน เห็นผู้คนข้ามแม่น้ำเหลียงเจียงที่กว้างใหญ่  ถึง 300 วา สายน้ำเชี่ยวตลอดปี เกิดเรือล่มคนจม  น้ำ ตายเสมอก็ชักชวนชาวบ้านบริจาคกำลังกาย  กำลัง ทรัพย์ลงมือสร้างสะพานฮั่วเพ้งให้จนท่านมรณะภาพลงในปี 1670 สิริ รวมอายุได้  88 ปี ชาวจีนทางตอนใต้แถบแต้จิ๋วซัวเถาศรัทธา เลื่อมใสท่านต่อเนื่องกันมา

“ไต้ฮงกง” อริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยึดเหนี่ยวจิตใจกว่า 1 ศตวรรษ
ต้นแบบแนวทางด้านงานสาธารณกุศลของมูลนิธิฯ
   
   หลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) และ ศาลเจ้าไต้ฮงกง ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย  สี่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร รวมถึงมีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก หรืออาจจะพูดได้ว่ามากในหมู่ชาวไทยและชาวจีน ที่นับถือและสืบทอดความศรัทธา ต่อๆ กันมากว่า 100 ปี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  รุ่นลูกสู่รุ่นหลาน โดยมีความเชื่อว่าเมื่อมาสักการะหลวงปู่ไต้ฮง จะเป็นสิริมงคล แคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ
     ศาลเจ้าไต้ฮงกง ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 2453 ตามแบบสถาปัตยกรรมจีนตอนใต้ และ ได้จัดตั้ง  “ คณะเก็บศพไต้ฮงกง “ ในเวลาต่อมา  เพื่อทำการเก็บ  และจัดการงานศพ ผู้ยากไร้   และอนาถา ในเขตกรุงเทพ ฯ   ต่อมาภายหลัง  “ คณะเก็บศพไต้ฮงกง “ เปลี่ยนชื่อเป็น “ มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง “ หรือ “ป่อเต็กตึ๊ง “  บริหารงานในรูปคณะกรรมการ(ในเนื้อที่  2 งาน  97 เศษหนึ่งส่วนสิบ ตารางวา  ถนนเจ้าคำรพ  สามเพ็ง)  วันที่ 1 กรกฎาคม  2452 โดยการนำของ ยี่กอฮง หรือ พระอนุวัตร์ราชนิยม  ต้นสกุล “เตชะวนิช”   กับ สมัครพรรคพวกรวม 12 ท่าน   ต่อมา  เมื่อศาลเจ้าไต้ฮงกง และสำนักงานมูลนิธิ ฯ สร้างเสร็จสมบูรณ์ ได้อัญเชิญรูปจำลองของหลวงปู่ที่นายเบ๊ยุ่น คหบดีนำมาจากประเทศจีนมาประดิษฐานอย่างถาวรที่ศาลเจ้าไต้ฮงกง จวบจนถึงปัจจุบันนี้
 ศาลเจ้าไต้ฮงกง   เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐานรูปจำลองของหลวงปู่ไต้ฮง  มหาเถระผู้มากด้วยเมตตา  กรุณา ในสมัยราชวงศ์ซ้อง  เมื่อเกือบพันปีล่วงมาแล้ว 
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้า นอกเหนือจาก รูปจำลองของหลวงปู่ไต้ฮงกง แล้วนั้น ด้านซ้ายของหลวงปู่ฯ ยังเป็นที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่พระโพธิสัตว์กวงอิมอวโลกิเตศวร   ด้านขวามือ ประดิษฐาน  องค์ตี่จั่งอ๊วง  (ยมทูต) หรือ พระกษิติครรภโพธิสัตว์ พระผู้โปรดสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากบาป
       หลวงปู่ไต้ฮงภิกขุ  เป็นพระนักพัฒนา  พระนักปฏิบัติ   พระนักสังคมสงเคราะห์    จริยวัตรอันงามงดของท่านในสมัยนั้น    เป็นแบบอย่าง  เป็นรากเหง้าของงานสังคมสงเคราะห์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในปัจจุบัน  เช่น การเก็บศพไร้ญาติ  ปลงศพ   สงเคราะห์ยารักษาโรค  ตัดถนนหนทาง  สร้างสะพาน  สงเคราะห์คนยากไร้ อนาถาไร้ที่พึ่ง เป็นต้น  คุณงามความดีของหลวงปู่ล้วนจารึกอยู่ในดวงจิตของชาวจีนมิรู้ลืม   ภายหลังท่านมรณภาพ   บรรดาศิษยานุศิษย์   และ ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา   พากันสร้างอนุสรณ์สถานขึ้น    เพื่อเป็นการรำลึก  และสานต่อเจตนารมณ์ของท่านให้ยืนยาวมาตราบเท่าทุกวันนี้  เฉพาะในประเทศจีนเองมีศาลเจ้ากว่า  500  แห่ง  ภายใต้ชื่อ  “ป่อเต็กตึ๊ง”
       ด้านงานสังคมสงเคราะห์ของมูลนิธินับวันจะขยายขอบข่ายการบริการช่วยเหลือสังคมให้กว้างขวางออกไปให้สมกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระราชทานเงินให้ “ คณะเก็บศพไต้ฮงกง “ ปีละ 2 พันบาท เพื่อให้ดำรงความเป็นคณะเก็บศพไร้ญาติไว้ได้มาแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
            
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น